ยุทธพงษ์ สืบภักดี : ครูหนุ่ม

ครูหมีสอนศิลปะ

สิ่งที่คุณควรรู้(จริง)…..

by on ส.ค..15, 2010, under ครูหมีสอนศิลปะ

Graphics เขียนเป็นภาษาไทยว่า กราฟิก
Design เขียนเป็นภาษาไทยว่า ดีไซน์

การสะกดคำ ตามหลักทับศัพท์ของราชบัณฑิต กำหนดให้ ใช้ “กราฟิก” สำหรับคำว่า graphic ซึ่งแปลไทยว่า เรขภาพ และ ส่วนคำว่าคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ สำหรับ computer graphics ซึ่งการเติมเอส จะแสดงถึงคำว่าศาสตร์วิชา แต่หากรูปไม่เติมเอสจะใช้เป็นคำวิเศษณ์ เช่น ภาพกราฟิก (grpahic image) ภาพเชิงกราฟิก (graphical image) ซอฟต์แวร์กราฟิก (graphic software) หรือ ส่วนต่อประสานผู้ใช้แบบกราฟิก (GUI: graphic user interface)
กราฟิกคืออะไร
กราฟิก คือ องค์ประกอบที่เกิดขึ้นจากลักษณะพื้นฐานของขององค์ประกอบศิลป์ เช่น เส้น จุด รูปทรง ฯลฯ นำมาประยุกต์ให้เกิดความแปลกใหม่โดยอาศัยความเป็นรูปธรรมและนามธรรม เกิดเป็นภาพที่แปลกตา อาจใช้คอมพิวเตอร์หรือการทำด้วยมือก็ได้
กราฟิกดีไซน์ คือการออกแบบรูปภาพสัญลักษณ์ที่มองเห็นด้วยตา (เป็นทัศนศิลป์อย่างหนึ่ง) และมีหน้าที่สื่อความหมายจากสัญลักษณ์สู่ความหมาย คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่ากราฟิกดีไซน์เป็นงานที่ทำด้วยคอมพิวเตอร์หรือเป็นการสร้างแอนิเมชันสามมิติ ซึ่งในความเป็นจริง คอมพิวเตอร์เป็นเพียงเครื่องมือชิ้นหนึ่งที่ช่วยในการสร้างงานกราฟิกดีไซน์ได้ เช่นเดียวกับ ดินสอ ปากกา พู่กัน
กราฟิกดีไซน์ เป็นการทับศัพท์มาจากภาษาอังกฤษ graphic design คำว่า graphic มีคำในภาษาไทยที่ใช้แทนได้คือ เรขศิลป์, เลขนศิลป์ หรือ เรขภาพ ส่วน design แปลว่า การออกแบบ เมื่อรวมกันแล้ว กราฟิกดีไซน์จึงมีหมายความว่า การออกแบบเรขศิลป์ หรือ การออกแบบเลขนศิลป์
กราฟิกดีไซน์ในรูปแบบต่างๆ
  • สัญญาณป้ายจราจร
  • ภาพวาดผนังถ้ำ
  • ฟอนต์
  • ปกหนังสือ
  • ลวดลายบนเครื่องเบญจรงค์

คอมพิวเตอร์กราฟิกส์ (computer graphics) หรือในศัพท์บัญญัติว่า วิชาเรขภาพคอมพิวเตอร์ เรียกย่อ ๆ ว่า ซีจี (CG) คือหนึ่งในศาสตร์ องค์ความรู้ ของระเบียบวิธีการแก้ปัญหาเชิงคอมพิวเตอร์ (computing methodology) ที่แก้ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องของภาพหรือการแสดงภาพ โดยเน้นการประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ ให้ข้อมูลนำเข้าเป็นข้อมูลตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญญานต่าง ๆ แทน ตำแหน่งพิกัด สี รูปทรง ความสว่าง

ขั้นตอนแรกเริ่มต้นด้วยการสร้างแบบจำลอง (modeling) เพื่อแทนความสัมพันธ์ของข้อมูลต่าง ๆ เหล่านั้นให้สามารถประมวลผลได้ด้วยคอมพิวเตอร์ ตามด้วย การแปรเป็นภาพสุดท้าย หรือ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเรนเดอร์ หรือการให้แสงและเงา (rendering) เป็นการแปรหรือแสดงผลลัพธ์ทางอุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ เช่น จอภาพ หรือ อุปกรณ์อื่น ๆ ออกมาเป็นภาพเชิงเรขาคณิตมองเห็น รูปทรง สีสัน ลวดลาย ลายผิว หรือ ลักษณะแสงเงา รวมถึง ข้อมูลอื่น ๆ ของภาพ เช่น ข้อมูลการเคลื่อนไหว การเปลี่ยนแปลง ลักษณะการเชื่อมต่อ และ ความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุหรือสิ่งของในภาพ

วิชานี้ยังครอบคลุมถึงการศึกษาด้านระบบในการแสดงภาพ ทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ สถาปัตยกรรมของเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เชื่อมต่อ หรือ อุปกรณ์ในการนำเข้า และ แสดงผล ปัจจุบันมีการประยุกต์ วิชาเรขภาพคอมพิวเตอร์ใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีอื่น เช่น การสร้างภาพเคลื่อนไหวหรือ แอนิเมชัน งานภาพยนตร์ เกม สื่อประสมภาพและเสียง ศึกษาบันเทิง หรือ ระบบสร้างภาพความจริงเสมือน เป็นต้น

ระเบียบวิธีที่นิยมแบ่งเป็นสองวิธีหลัก คือ การใช้หลักการฉายและการใช้หลักการตามรอยละแสง สำหรับวิธีการสร้างภาพโดยใช้หลักการฉาย (projective method) ซึ่งใช้หลักการแปลงพิกัดข้อมูลตำแหน่งต่าง ๆ ในสามมิติ ให้เป็นข้อมูลที่มีพิกัดสองมิติแล้วแสดงผลบนอุปกรณ์แสดงผลเช่นจอภาพ เป็นต้น โดยระหว่างการแปลงพิกัดจะมีการคำนวณย่อย เช่น การขริบ (clipping) การขจัดเส้นแฝงผิวแฝง (hidden line/surface removal) และ การทำให้เป็นจุดภาพ (rasterization) เป็นต้น

อีกวิธีที่นิยมใช้คือ การตามรอยลำแสง (ray tracing) ซึ่งเป็นการคำนวณโดยอาศัยหลักไล่ตามรอยทางเดินของแสงที่มาจากแหล่งกำเนิดแสงมาตกกระทบที่วัตถุแล้วสะท้อนเข้าตาหรือกล้อง โดยไล่ตรวจสอบย้อนรอยแสง ไปดูค่าความสว่างของวัตถุที่จะแสดงในแต่ละจุดภาพบนอุปกรณ์แสดงผล

แอนิเมชัน (อังกฤษ: animation) หมายถึง การสร้างภาพเคลื่อนไหวโดยการฉายภาพนิ่งหลายๆ ภาพต่อเนื่องกันด้วยความเร็วสูง

การใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกส์ในการคำนวณสร้างภาพจะเรียกการสร้างภาพเคลื่อนไหวด้วยคอมพิวเตอร์หรือ คอมพิวเตอร์แอนิเมชัน หากใช้เทคนิคการถ่ายภาพหรือวาดรูป หรือ หรือรูปถ่ายแต่ละขณะของหุ่นจำลองที่ค่อย ๆ ขยับ จะเรียกว่า ภาพเคลื่อนไหวแบบการเคลื่อนที่หยุด หรือ สตอปโมชัน (stop motion) โดยหลักการแล้ว ไม่ว่าจะสร้างภาพ หรือเฟรมด้วยวิธีใดก็ตาม เมื่อนำภาพดังกล่าวมาฉายต่อกันด้วยความเร็ว ตั้งแต่ 16 เฟรมต่อวินาทีขึ้นไป เราจะเห็นเหมือนว่า ภาพดังกล่าวเคลื่อนไหวได้ต่อเนื่องกัน ทั้งนี้เนื่องจากการเห็นภาพติดตา

ในทางคอมพิวเตอร์ การจัดเก็บภาพแบบแอนิเมชันที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในอินเทอร์เน็ต มีหลายรูปแบบไฟล์เช่น GIF APNG MNG SVG แฟลช และไฟล์สำหรับเก็บวีดิทัศน์ประเภทอื่นๆ

ตัวอย่างแอนิเมชัน

เมื่อนำมาฉายต่อเนื่องกันจะเห็นเป็นภาพเคลื่อนไหว โดย

Animexample.gif
ตัวอย่างแอนิเมชันนี้ เคลื่อนด้วยความเร็ว 10 เฟรมต่อวินาที
Animexample2.gif
แอนิเมชันนี้ เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 2 เฟรมต่อวินาที

คอมพิวเตอร์แอนิเมชัน (computer animation) คือการสร้างภาพเคลื่อนไหวด้วยคอมพิวเตอร์โดยอาศัยเครื่องมือ ที่สร้างจากแนวคิดทางคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ช่วยในการสร้าง ดัดแปลง และให้แสงและเงาเฟรมตลอดจนการประมวลผลการเคลื่อนที่ต่าง ๆ โดยเครื่องมือที่ว่าประกอบด้วยฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ที่สร้างขึ้นจาก ระเบียบวิธี ขั้นตอนวิธี หลักการ กฏ หรือ การคำนวณต่าง ๆ เช่น
  • เฟรมหลัก (keyframing) การใช้หลักการสร้างการเคลื่อนไหวโดยกำหนดภาพหรือเฟรมหลักของการเคลื่อนที่แล้วคำนวณหรือวาดภาพหรือส่วนที่อยู่ระหว่างสองภาพ
  • การประมาณค่าในช่วง (interpolation) การคำนวณค่ากลางระหว่างสองค่าที่กำหนดให้
  • จลนพลศาสตร์ (kinematics) หรือการเคลื่อนไหวของร่างกายหรือตัวละคร โดยไม่คำนึงถึงแรงที่กระทำ โดยอาศัยการแทนตัวละคร หรือ วัตถุด้วย กระดูกหรือโครงสร้างที่เป็นแกนกลางเชื่อมต่อกันด้วยข้อต่อ และมีการกำหนดค่ามุมหรือตำแหน่งที่ข้อต่อนั้น
  • การจับภาพการเคลื่อนไหว (motion capture) การใช้อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ในการจับการเคลื่อนไหวเป็นข้อมูลดิจิทัล
  • การประมวลผลการเคลื่อนไหว (motion processing) การแก้ไข เพิ่ม ลด เปลี่ยนแปลงข้อมูลดิจิทัลของการเคลื่อนไหว
  • การเคลื่อนไหวฝูงชน (crowd animation) การกำหนดการเคลื่อนไหวของกลุ่มตัวละครจำนวนมากเพื่อลดภาระของผู้ใช้หรือแอนิเมเตอร์
  • พลศาสตร์ (dynamics) วิธีทางกลศาสตร์ในการกำหนดความสัมพันธ์ของตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวโดยอาศัยกฏทางฟิสิกส์เข้ามาอธิบายและหาคำตอบของตำแหน่งของภาพเคลื่อนไหว เช่น ระบบอนุภาค สปริง สมการนาเวียร์-สโตกส์ เป็นต้น

ประวัติคอมพิวเตอร์แอนิเมชัน

ตั้งแต่ช่วงปีค.ศ. 1970 เป็นต้นมาถึงปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วยในการสร้างภาพเคลื่อนไหว เป็นวิธีที่สามารถสร้างภาพที่สมจริงขึ้น ซับซ้อนขึ้น หรือ ต้นทุนต่ำกว่าการสร้างภาพด้วยมือ เช่น ในภาพยนตร์การ์ตูน หรือหนังภาพยนตร์อย่าง สตาร์วอร์ หรือจูราสติกพาร์ก มีการใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกส์ช่วยสร้างภาพที่อยู่ในจินตการของคนเรานั้น ออกมาให้เห็นได้อย่างสวยงามและสมจริง นอกเหนือจากนั้นประโยชน์ของ การสร้างภาพเคลื่อนไหวด้วยคอมพิวเตอร์ มีทั้งใน การจำลองทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์ การจราจรคมนาคมการบิน สถาปัตยกรรม การวิจัยดำเนินงาน เกมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น


สำหรับในประเทศไทยภาพยนตร์ที่ใช้คอมพิวเตอร์แอนิเมชันเข้ามาใช้เป็นเรื่องแรกของประเทศไทยคือ ปักษาวายุ[ต้องการอ้างอิง] ส่วนการ์ตูนคือ ปังปอนด์ ดิ แอนิเมชันในขณะที่ภาพยนตร์แอนิเมชันขนาดยาวเรื่องแรกของไทยคือ การ์ตูนสุดสาครของปยุต เงากระจ่างฉบับ ปีพ.ศ. 2522

ผู้เขียน/เรียบเรียงข้อมูล…จานหนุ่ม
ข้อมูลอ้างอิง http://th.wikipedia.org/

ปิดความเห็น บน สิ่งที่คุณควรรู้(จริง)….. more...

คุณสมบัติของนักออกแบบที่ดี

by on ก.ค..28, 2010, under ครูหมีสอนศิลปะ

 

การที่จะเป็นนักออกแบบที่ดีและประสบความสำเร็จนั้นไม่ใชเรื่องยาก แต่มันจะสำเร็จหรือไม่สำเร็จนั้นโดยส่วนมากแล้ว 99% นั้นอยู่ที่ตัวของคุณเอง เริ่มจากที่ตัวคุณเอง และในตัวตัวคุณนั้นต้องมีคุณสมบัติพื้นฐานของนักออกแบบที่ดีด้วย เพื่อช่วยในการเริ่มต้นและปฎิบัติให้ถูกต้องตามที่สังคมยอมรับได้ ซึ่งมันจะมีอะไรบ้างนั้นลองมาดูกันครับ

คุณสมบัติของนักออกแบบ    ในการเป็นนักออกแบบที่ดี จะต้องมีความสามารถ และมีลักษณะนิสัยที่ช่วยให้การออกแบบมีคุณภาพ และประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมาย คุณสมบัติของนักออกแบบมีหลายประการ ซึ่งพอจะจำแนกออกได้ดังนี้

(continue reading…)

1 Comment : more...

การออกแบบสัญลักษณ์ (Logo)

by on ก.ค..22, 2010, under ครูหมีสอนศิลปะ

โลโก้ต้องสื่อตัวตนได้
โลโก้ต้องเป็นที่จดจำ
โลโก้ต้องสื่อได้แม้ไม่ได้ใช้สีสัน
โลโก้ต้องสื่อได้แม้ขนาดเล็กๆ

ที่มา http://www.freelanceunited.in.th

การออกแบบสัญลักษณ์ (Logo)

การที่จะเริ่มทำธุรกิจฯ การที่จะเปิดทำการดำเนินกิจการอะไรๆ ก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นเพื่อการค้า เพื่อหน่วยงานราชการ เอกชน กระทรวง ทบวง กรม กอง องค์กรส่วนรวมทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน บริษัท ห้างร้าน ฯลฯ ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ล้วนแล้วแต่มีความจำเป็นที่จะต้องมีสัญลักษณ์ หรือ Logo ประจำตัว เพื่อเป็นการสื่อ เตือนความทรงจำ และทำให้เกิดผลด้านการสื่อความหมายต่อสาธารณชนได้ง่ายขึ้น

(continue reading…)

ปิดความเห็น บน การออกแบบสัญลักษณ์ (Logo) more...

ความคิดสร้างสรรค์??? ถ้าไม่คิดก็ไม่ได้คิด ถ้าไม่คิดก็ไม่ได้ทำ ถ้าอยากจะทำต้องคิด

by on ก.ค..21, 2010, under ครูหมีสอนศิลปะ

ก่อนอ่านบทความนี้ผมได้ไปเจอมา ที่ http://www.novabizz.com มีบทความดีๆมากมายเลยที่เดียวถ้าว่างก็ไปอ่านเพิ่มเติมได้ เลยนำมาลงไว้ให้อ่านกันครับ

Improving Your Creative Thinking Skills

เมื่อไม่กี่ปีมานี้ มีหนังสือเล่มหนึ่งที่เกรียวกราวพอสมควรชื่อว่า Parallel thinking หรือแปลเป็นไทยว่า ความคิดคู่ขนาน ของ Dr’ Edward de Bono ออกวางตลาด ต่อจากนั้น ดูเหมือนจะได้รับข่าวคราวเสมอเกี่ยวกับ การจะพัฒนาความคิด ความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างไร ? มีการอบรมเรื่องของ Mind Mapping เพื่อสังเคราะห์ไอเดียต่างๆ ทำให้เห็นภาพว่า สังคมไทยมีความตื่นตัวในเรื่องนี้กันพอสมควร สำหรับความเรียงชิ้นนี้ เรียบเรียงขึ้นมาจาก และความคิดของผู้เขียน และจากบทความหลายชิ้นของ Melvin D. Saunders อย่างเช่น Improving Your Creative Thinking Skills, Creativity and Creative Thinking, How creative thinking technique works, Ways to kill and ways to help an idea เป็นต้น ซึ่ง Saunders เป็นอีกผู้หนึ่งที่มีผลงานทางด้านนี้ ซึ่งจะกระตุ้นให้เรากล้าคิด ในหนทางที่แตกต่าง เช่น การใช้ความคิดจากมุมองที่ต่างออกไป คิดแบบทำลายกฎเกณฑ์เก่าๆ คิดแบบเล่นๆ หรือใช้จินตนาการทุกชนิด เพื่อทำให้เกิดความเป็นไปได้ และเขายังเสนอหนทางที่จะได้มาซึ่ง ความคิด หรือไอเดียใหม่ๆ อย่างเช่น ใช้วิธีการสุ่มต่างๆ เช่น การสุ่มด้วยภาพ การสุ่มด้วยคำ หรือกระทั่งการสุ่มด้วย Website (ลองเปิด website ที่ไม่เคยคิดว่าจะเปิดดูมาก่อน) รวมไปถึงการนำเอาไอเดีย ตั้งแต่สองไอเดีย ที่ไม่เคยรวมกันมาก่อน มาสังเคราะห์เข้าด้วยกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นที่มาของการได้มาซึ่ง ความคิดสร้างสรรค์

(continue reading…)

ปิดความเห็น บน ความคิดสร้างสรรค์??? ถ้าไม่คิดก็ไม่ได้คิด ถ้าไม่คิดก็ไม่ได้ทำ ถ้าอยากจะทำต้องคิด more...

ประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์ (LOGO) และคําขวัญ (MOTTO)

by on ก.ค..19, 2010, under ครูหมีสอนศิลปะ

 

ประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์ (LOGO) และคําขวัญ (MOTTO)

สําหรับใช้ในการเผยแพรประชาสัมพันธ์สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมมหาดไทย

(MAHADTHAI CHANNEL) ชิงเงินรางวัล 50,000 บาท

นักศึกษาทุกคนต้องส่งเข้าประกวด

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.moi.go.th/image/images_new/praguard_1.pdf

ปิดความเห็น บน ประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์ (LOGO) และคําขวัญ (MOTTO) more...

ไอเดียมาจากไหนว้า….

by on ก.ค..16, 2010, under ครูหมีสอนศิลปะ

 

ปัญหาของนักออกแบบที่ทุกท่านประสบกันมากที่สุดคือ วิธีการหาไอเดียใหม่ๆ เจ๋งๆ เข้าท่าๆ ยิ่งถ้าเจอแบบ เร่งรัด ให้คิดได้ในบัดดลแล้วยิ่งไปกันใหญ่ …ไอเดีย มันเกิดมาจากอะไร มันจะมาตอนไหน แล้วจะหาไอเดียได้อย่างไร วันนี้ ผมจะมาลองเล่าให้ฟัง เผื่อมีประโยชน์บ้าง…

ไอเดีย (IDEA) แปลกันตรงๆ ก็หมายถึง ความคิด ผมจะเรียก สิ่งที่ผมกำลังคิดอยู่หรือกำลังจะแสดงออก ณ บัดนั้น ว่า ไอเดีย ไม่ว่าสิ่งนั้นจะแสดงออกมาในรูปแบบใด จะดีรึว่าเลวก็จะเรียกว่าไอเดีย

เช่น “ผมกำลังจะนอน แต่ผมคิดว่าดูหนังก่อนนอนสักเรื่องดีกว่า”  แบบนี้เป็นต้น

นี่คือรูปแบบของสิ่งที่เรียกว่าไอเดียโดยทั่วไปแบบปกติ แต่ในชีวิตของนักออกแบบไอเดียนั้นมีความสำคัญมากกว่ารูปแบบปกติทั่วไป เพระอะไร นั้นก็เพระว่าไอเดียของนักออกแบบ ต้องมีสิ่งที่ใหม่ สด แตกต่างจากรูปแบบปกติทั่วไป ไม่งั้นเราก็คงเรียกตัวเองว่านักออกแบบไม่ได้

เช่น “ผมกำลังจะนอน แต่ผมคิดว่าดูหนังก่อนนอนสักเรื่องดีกว่า” แต่ “เอะก่อนนอน ก่อนดูหนัง ผมคิดว่าวันนี้ผมเครียดมาเยอะทั้งวัน วันนี้ดูหนังตลกสักเรื่องดีกว่าจะได้อารมดี คลายความเครียดเพื่อจะได้หลับสบายๆ” แบบนี้เป็นต้น

อันนี้แสดงให้เห็นถึง การใช้ความคิดหรือที่เราเรียกว่า ไอเดีย ในการกลั่นกรอง วิเคาระห์และเลือกสิ่งที่เหมาะสมกับสภาพที่เป็นอยุ่ ณ ปัจจุบัน แต่…..อันนี้ก็ถือว่าเป็นไอเดียที่คนทั่วไปอาจจะคิดได้และถือว่ายังไม่ใช่ไอเดียที่โดดเด่นกว่าคนทั่วไป นักออกแบบต้องคิดให้ได้ลึกซึ่ง ถ้วนถี่และกรั่นกรองอย่างละเอียด เพื่อหาข้อสรุปและผลของสิ่งที่ทำอย่างชัดเจน โดยมีเป้าหมายในผลของมันตามความต้องการหรือผู้อื่นต้องการ

เช่น “ผมกำลังจะนอน แต่ผมคิดว่าดูหนังก่อนนอนสักเรื่องดีกว่า” แต่ “เอะก่อนนอน ก่อนดูหนัง ผมคิดว่าวันนี้ผมเครียดมาเยอะทั้งวัน วันนี้ดูหนังตลกสักเรื่องดีกว่าจะได้อารมดี คลายความเครียดเพื่อจะได้หลับสบายๆ”  แต่ “เอะแล้ววันนี้ผมเครียดเรื่องอะไรว้า อ้อ เรื่องที่ผมเครียดคือผมไม่สามารถบอกให้นักศึกษาทำความสะอาดห้องและเก็บกวาดห้องให้สะอาดได้ อ้าวทำไมถึงเป็นนั้นว้า ทำไมเค้าถึงไม่ฟังเราในการขอให้ทำความสะอาดในสิ่งที่เค้าทำเละได้ว้า แล้วทำไมเค้าถึงได้ทิ้งขยะลงบนพื้นห้องเรียนที่เป็นของพวกเค้าเรียนเอง โดยไม่คิดว่าถ้าไม่มีคนใดเก็บสักคนห้องมันก็จะสกปรก รกและไม่น่าเรียน ผมจะทำไงดีให้พวกเค้าเปลี่ยนความคิดได้ อ้อ งั้นหาหนังที่สอดแทรกความคิดเรื่องรักสิ่งของและช่วยเหลือซึ่งกันและกันดูซัก 2-3 เรื่องดีกว่า เผื่อจะได้นำไปใช้ได้ หรืออาจจะเอาไปให้นักศึกษาดูเลย เผื่อจะได้ความคิดดีๆไปบ้าง งั้น ลองค้นดูสัก 2-3 เรื่องแล้วนอนดูดีกว่า” แบบนี้เป็นต้น

ดั่งตัวอย่างที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่า กระบวน การคิด (ไอเดีย)  นั้น ถ้าเราคิดด้วยเหตุและผล มีวัตถุประสงค์ รวบรวมข้อมูล กำหนดเป้าหมาย คาดหวังผลที่ต้องการ และนำไปใช้ อย่างละเอียดละออ มันก็จะเกิดประโยชน์มีคุณค่าและใช้งานได้จริง อย่างลงตัว แทนที่จะ ง่วง จะนอน ดูหนัง หลับ ผมก็จะได้ เครียด ง่วง จะนอน ดูหนัง หนังตลก คลายเครียด  หาสิ่งคลายเครียด ได้แง่คิดจากหนัง หลับ นำไปทดลองใช้ เกิดผลที่คาดหวัง ตรงตามเป้าหมาย เกิดประโยชน์สูงสุด แบบนี้ เห็นไหมครับ ได้อะไรอีกเยอะมากมายเลย

แล้วมันเกี่ยวอะไรกับการออกแบบ แน่นอนครับเกรินไปแล้ว การออกแบบ ต้องทำให้ได้ตามสิ่งที่ เรา (อาจหมายถึง ตัวเรา และ ลูกค้า) ต้องการ ฉะนั้นเมื่อเริ่มออกแบบเราต้องมีข้อมูลที่ถูกต้อง เน้นว่าถูกต้อง ถ้าผิดพลาดตั้งแต่ข้อมูล ก็จะทำให้เสียกระบวนไปตั้งแต่ยังไม่ได้เริ่มออกแบบเลย เมื่อได้ข้อมูลมาแล้ว ทั้งจากตัวเรา ลูกค้า สิ่งต่างๆรอบตัว ผมก็จะเริ่มการ คิดเหตุและผล ถ้าทำงานเป็นกลุ่ม จังหวะนี้ก็จะเกิดการระดมความคิด (ไอเดีย) ของแต่ละคน คนนึงเสนอ(เหตุ) คนอื่นๆวิเคาระห์ และหาคำตอบ (ผล) ถ้าเหตุและผลไปด้วยกันได้ ก็จะเรียกว่า นี่คือไอเดียขั้นต้นแล้ว เมื่อได้ไอเดียขั้นต้นมาแล้ว ก็ต้องผ่านกระบวนการ กำหนดเป้าหมาย คาดหวังผลที่ต้องการ และนำไปทดลองใช้ ก่อนใช้งานจริง กระบวนการนี้อาจจะงงๆไปสักหน่อย จะยกตัวอย่างให้เห้นชัดขึ้น เช่น

“วันนี้ผมให้นักศึกษาออกแบบโลโก้ของ ช่องของกระทรวงมหาดไทย ที่เพิ่งออกอากาศและจัดกิจกรรมประกวดโลโก้อยู่ มีนักศึกษอยู่ 22 คน ก็ให้ออกแบบ Main idea ของแต่ละคนมาให้ได้ก่อน ก่อนที่จะนำไป Develop เป็น Idea Sketch หลายๆรูปแบบ แต่ละคนก็ออกแบบมาโดยไม่ถามเพื่อนหรือคนรอบข้างเลยเขียนอะไรได้ก็จะใส่มาเลยแล้วเอามาให้ผมดูว่าดีหรือไม่ดี ซึ่งก็จะค่อนข้างไปในรูปทางเดียวกันหมด คือคล้ายๆกัน โดยไม่ได้ค้นข้อมูลและตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นก่อนเลย เมื่อไม่ผ่านและได้รับคำแนะนำไปก็จะไปเริ่มต้นกันใหม่ คิดใหม่รวบรวมข้อมูลใหม่ โดยข้อมูลที่เสริมให้ไปคือ การให้ไปดูว่าช่องนี้เค้าทำอะไร ถ่ายทอดอะไร เรื่องราวเป็นอย่างไง เนื้อหาสาระเกียวกับอะไร เป็นของใคร และเค้าทำมาเพื่ออะไร เมื่อมองเห็นสิ่งที่ติเติยนไป (บางคนไม่เข้าใจก็จะเถๆไป)  เมื่อได้ข้อมูลที่ถูกต้องและแนวความคิดเข้าที่เข้าทางแล้วก็จะจับหลักถูกว่าจะไปทางไหนและเริ่มที่จะสร้างผลงานที่ดีออกมา หลังจากได้ใช้ความคิดในการกลั่นกรองมาแล้ว” แบบนี้เป็นต้น

จึงสามารถมองเห็นได้ว่า ไอเดียที่ ผมและท่านๆ กำลังหาอยู่นั้น จริงๆ มันก็คือ ความคิดที่ผ่านการกลั่นกรองหาเหตุและผลที่ถูกต้อง มีการวิเคาระห์ สรุป รวบรวมข้อมูล และพัฒนา จนได้ ความคิดที่รวบยอด มีความหมายและเนื้อหาสาระที่ตรงต่อความต้องการของทุกคน และนำความคิด (ไอเดีย) นั้นไปสร้างเป็นผลงานออกมา

หลังจากขั้นตอนนี้เราถึงค่อยเริ่มสร้างสรรค์ผลงานการออกแบบมาให้สวยงามและตรงตามความคิดหลัก main idea นั้นเอง หรือที่เราเรียกว่า I do ฉันทำได้ ต่อไป……

ปิดความเห็น บน ไอเดียมาจากไหนว้า…. more...

Looking for something?

Use the form below to search the site:

Still not finding what you're looking for? Drop a comment on a post or contact us so we can take care of it!

Visit our friends!

A few highly recommended friends...